โครงสร้างการจัดการและหน้าที่ความรับผิดชอบ

โครงสร้างการจัดการ

โครงสร้างการบริหารของบริษัท ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 6 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีรายชื่อ และขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ ดังนี้

1) คณะกรรมการบริษัทฯ

ประกอบด้วยกรรมการ 9 ท่าน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการบริษัท

1. นายบัญชา องค์โฆษิต(1) ประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร
2. พลโทนายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ, ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
3. นายไพฑูรย์ ทวีผล กรรมการอิสระ, ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ, กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน, ประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร
4. นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ, กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน, กรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร
5. แพทย์หญิงจันทิมา องค์โฆษิต กรรมการ, ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
6. นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต(1) กรรมการ, รองประธานกรรมการบริหาร, กรรมการกำกับดูแลกิจการ
7. นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์ กรรมการ, กรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร
8. นายพิธาน องค์โฆษิต์(1) กรรมการ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (ระดับจัดการ)
9. นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ, คณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

หมายเหตุ : (1)กรรมการที่เป็นผู้บริหาร

กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท

กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทฯประกอบด้วย นายบัญชา องค์โฆษิต นายปัญจะ เสนาดิสัย แพทย์หญิงจันทิมา องค์โฆษิต นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์ และ นายพิธาน องค์โฆษิต กรรมการสองในหกคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัทฯ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ

  1. บริหารกิจการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น (Fiduciary Duty) โดยยึดถือแนวปฎิบัติสำคัญ 4 ประการคือ
    1.1 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง (Duty of Care)
    1.2 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty)
    1.3 การปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (Duty of Obedience)
    1.4 การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส (Duty of Disclose)
  2. พิจารณาอนุมัติ ให้ความชอบ และทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนการดำเนินงาน แผนงบประมาณ และควบคุมการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและก่อประสิทธิผลเพื่อความมั่นคงและผลประโยชน์ที่สมดุลย์ และยั่งยืนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทั้งในปัจจุบันและในระยะยาว รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  4. ในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ กำหนดให้เรื่องดังต่อไปนี้เป็นอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ที่จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ให้ความเห็นชอบ
    1) นโยบาย แนวทางกลยุทธ์การบริหารงาน เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน งบประมาณประจำปีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย
    2) ผลประกอบการประจำเดือน และประจำไตรมาสของบริษัทฯ เทียบกับแผนและงบประมาณ
    3) การลงทุนในโครงการที่ไม่มีในงบประมาณประจำปี และอนุมัติรายการปกติทั่วไปทางการค้าที่มีวงเงินเกินอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้จัดการ
    4) การซื้อและจำหน่ายสินทรัพย์ การซื้อกิจการ และการเข้าร่วมโครงการร่วมทุนที่เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีมูลค่าเกินอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้จัดการ
    5) การทำธุรกรรมอันมีผลกระทบที่สำคัญต่อฐานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน ยุทธศาสตร์การทำธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัทฯ
    6) การทำสัญญาใดๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการทำธุรกิจปกติ และสัญญาที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจปกติที่มีความสำคัญ
    7) การเปิดและปิดบัญชีของบริษัทฯ กับสถาบันการเงินต่างๆ
    8) การทำรายการเกี่ยวโยงกันระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย บริษัทร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ส่วนที่ไม่เข้าข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ
    9) การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
    10) การเปลี่ยนนโยบายและวิธีปฏิบัติที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการบัญชี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
    11) การกำหนดและการเปลี่ยนแปลงอำนาจอนุมัติที่มอบให้กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูง
    12) การเสนอแต่งตั้งและการสิ้นสุดสถานภาพของกรรมการ เลขานุการบริษัท
    13) การมอบอำนาจหน้าที่ให้ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือกรรมการบริษัท คนใดคนหนึ่ง รวมถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข การมอบอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ
    14) การแต่งตั้งและกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อย
    15) การแต่งตั้งกรรมการในบริษัทย่อย
    16) การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขโครงสร้างองค์กร ระดับรองกรรมการผู้จัดการขึ้นไป
    17) การดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  5. กำกับดูแลและสอบทานให้มีระบบรายงานทางการเงินที่โปร่งใส ถูกต้องและเพียงพอ
  6. จัดให้มีและกำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  7. พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
  8. กำกับดูแลกระบวนการแต่งตั้งและเลือกตั้งกรรมการบริษัทให้มีความโปร่งใสและชัดเจน
  9. ควบคุมดูแลจัดการ การขัดแย้งทางผลประโยชน์ใดๆในบริษัทและส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับตระหนัก ในความสำคัญของระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน เพื่อลดความเสี่ยงด้านการทุจริตและการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง รวมทั้งป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย
  10. เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องเพียงพอ
  11. พิจารณาแต่งตั้ง สรรหา ผู้บริหารมาทดแทนตำแหน่งใดๆ ในกรณีที่จำเป็น
  12. วางแผนนโยบาย การบริหารงานของบริษัท ตลอดจนตรวจสอบผลการดำเนินงานของบริษัท
  13. กำกับดูแลและพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการกำกับดูแลและพัฒนาบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ เพื่อให้ไปสู่มาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล
  14. ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปี โดยรวมเป็นรายคณะ และประเมินตนเองเป็นรายบุคคล
  15. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และการประชุมผู้ถือหุ้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย โดยกรรมการบริษัทฯ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมจะต้องแจ้งให้กรรมการบริษัท หรือเลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนด นิยามความเป็นอิสระของกรรมการ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของประธานกรรมการ

ประธานกรรมการในฐานะผู้นำของคณะกรรมการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดวาระการประชุม ให้รายละเอียดข้อมูล ต่อกรรมการ เป็นผู้ดำเนินการประชุม เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านสามารถเสนอเรื่องต่างๆและเสนอความคิดเห็นใดๆ ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ

ประธานกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสรับฟังทุกความคิดเห็นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท นอกจากนี้ ประธานฯ จะเป็นผู้ตอบคำถามของผู้ถือหุ้นในประเด็นที่สำคัญๆของบริษัท หรือในประเด็นที่ผู้ถือหุ้นมีข้อสงสัย

แม้ว่าประธานกรรมการจะไม่ใช่กรรมการอิสระ แต่จากการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเห็นว่าโครงสร้างดังกล่าวมีความเหมาะสมกับลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯและเป็นจุดแข็งที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประธานกรรมการเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีในการผลิตแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้า (PCB) เข้ามาในประเทศไทยเป็นรายแรก จึงมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจการผลิต PCB มาอย่างยาวนาน และสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นส่วนน้อย มาโดยตลอด

ประธานกรรมการไม่มีอำนาจเหนือกว่ากรรมการท่านอื่นๆ ดังกฎหมายบริษัทมหาชนได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มเติมของประธานกรรมการบริษัทฯ ไว้ดังนี้

นอกจากหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะกรรมการแล้ว ประธานได้ยึดมั่นในจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ

2) คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยกรรมการและผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายจัดการ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

1) นายบัญชา องค์โฆษิต ประธานกรรมการบริหาร
2) นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต รองประธานกรรมการบริหาร
3) นายพิธาน องค์โฆษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ
4) นายเฟรดดริก การาเพท โอฮาเนี่ยน ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฏิบัติการผลิต
5) นางธัญรัตน์ เทศน์สาลี ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงินและบริหาร

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร

  1. พิจารณานโยบาย ทิศทาง แผนยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจและโครงสร้างการบริหารงาน และงบประมาณประจำปีของบริษัทฯและบริษัทย่อย โครงการลงทุนทุกโครงการ แผนกำลังคนประจำปี
  2. อนุมัติการสรรหา/คัดเลือก ผู้บริหารใหม่ในระดับรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกำหนดค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
  3. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้ดำเนินงานภายใต้นโยบายต่างๆที่กำหนดไว้ รับผิดชอบโดยรวมและควบคุมค่าใช้จ่ายและงบลงทุนตามขอบเขตที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติในแผนงานประจำปี
  4. ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
  5. รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร และให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะบรรลุ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. รับผิดชอบและอนุมัติการจัดหาวงเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
  7. ให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่คณะกรรมการเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจใดๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
  8. แก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งใดๆ ที่มีผลกระทบกับองค์กร
  9. ดำรงไว้ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  10. พิจารณาเรื่องการระดมทุนของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
  11. อนุมัติการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ

3) คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบกำหนดไว้ โดยจะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารกิจการต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรม และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกคน

คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ

1) นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการตรวจสอบ
2) พลโทนายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส กรรมการตรวจสอบ
3) นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการตรวจสอบ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. สอบทานให้บริษัทฯ มีรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและเพียงพอ โดยจัดให้มีผู้สอบบัญชีเข้าร่วมประชุมด้วยทุกไตรมาส
  2. สอบทานให้บริษัทฯมีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  3. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องครบถ้วน
  4. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมทั้งมีหน้าที่สอบทานรายงานผลการตรวจสอบ แนวทางการตรวจสอบ และประเมินผลการตรวจสอบการดำเนินงานด้านต่างๆ ของบริษัทฯ ตามวิธีการและมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปและประสานงานกับผู้สอบบัญชีของบริษัท
  5. พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งการพิจารณาเสนอค่าตอบแทน การสอบบัญชี และมีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วม
  6. ประเมินความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทฯ และให้คำแนะนำในการลดความเสี่ยง
  7. ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย และการพิจารณาความดี ความชอบ หรือการลงโทษหัวหน้าหน่วยงานการตรวจสอบภายในของบริษัท
  8. ให้ความเห็นชอบ แผนงานการตรวจสอบของหน่วยงานการตรวจสอบภายใน งบประมาณ และอัตรากำลังของหน่วยงานการตรวจสอบภายใน
  9. พิจารณาประเมินผลการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ และจัดทำรายงานกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ เปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ และลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดในประเด็นสำคัญดังนี้
    (1) ความถูกต้อง เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
    (2) ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน
    (3) การปฏิบัติตามกฎหมายหลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง
    (4) ความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
    (5) รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    (6) การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน
    (7) ความเห็นหรือข้อสังเกตที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่
    (8) รายการอื่นใดที่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ
  10. ประธานกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบต้องเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบ หรือการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
  11. พิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี(หากมีความจำเป็น)
  12. สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานที่เหมาะสม โดยร่วมหารือกับคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของฝ่ายจัดการถึงนโยบายหลักของบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงทุกด้าน รวมทั้งความเสี่ยงจากทุจริตคอร์รัปชั่น
  13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย
  14. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบทุกไตรมาส

4) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

1. พลโทนายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส ประธานกรรมการ
2. นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ
3. นายไพฑูรย์ ทวีผล กรรมการ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ ในการสรรหา

  1. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการสรรหา กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และกำหนดกระบวนการสรรหากรรมการบริษัทเพื่อแทนกรรมการที่ครบวาระ โดยพิจารณาสรรหากรรมการที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ทั้งในด้านทักษะ ประสบการณ์ และความสามารถเฉพาะด้าน
  2. พิจารณาโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทให้มีความเหมาะสมกับองค์กร
  3. สรรหาและพิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท ทดแทนกรรมการที่ครบวาระ หรือกรณีอื่นๆ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้จัดการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา
  4. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัท โดยมีกำหนดระยะเวลาที่เพียงพอก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
  5. จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา โดยมีการทบทวนแผนอย่างสม่ำเสมอ
  6. ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย
  7. รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ในการกำหนดค่าตอบแทน

  1. กำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนสำหรับกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ ให้มีความชัดเจน เป็นธรรม และเหมาะสม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และสามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน โดยค่าตอบแทนกรรมการดังกล่าวนั้น เพียงพอที่จะจูงใจให้คณะกรรมการมีคุณภาพและสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายและทิศทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีกระบวนการที่โปร่งใส และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้น
  2. พิจารณากำหนดค่าตอบแทนแก่กรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเห็นชอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ
  3. พิจารณากำหนดเป้าหมายและประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดค่าตอบแทน และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
  4. กำหนดแนวทาง นำเสนอ และให้ความเห็นชอบผลการประเมินการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการ เพื่อพิจารณาปรับค่าตอบแทนและการจ่ายเงินรางวัลจูงใจประจำปี
  5. รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

5) คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ โดยแต่งตั้งจากกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงจากส่วนงานต่างๆ โดยมีกรรมการอิสระเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการนี้

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

1) นางจันทิมา องค์โฆษิต ประธานกรรมการ
2) นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต กรรมการ
3) นางธัญรัตน์ เทศน์สาลี กรรมการ และเลขานุการฯ
4) นายวิบูรณ์ สุนทรวิวัฒน์ กรรมการ

โดยมีนายไพฑูรย์ ทวีผล เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

  1. เสนอแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
  2. ติดตามดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการและฝ่ายจัดการ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งหลักสากล
  3. ทบทวนและกำหนดหลักเกณฑ์ ข้อพึงปฏิบัติที่สำคัญ และปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และเหมาะสม
  4. รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ พร้อมความเห็น แนวปฏิบัติ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงตามความเหมาะสม
  5. ครอบคลุมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  6. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการจะต้องจัดให้มีการประชุมตามความจำเป็นและความเหมาะสม โดยจะต้องมีการประชุมไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี และรายงานผลการประชุมให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ

6) คณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 10/2559 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าร่วมเป็นกรรมการ

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

1) นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการ
2) นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการ
3) นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ
4) นายพิธาน องค์โฆษิต กรรมการ
5) นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์ กรรมการ
   นายสมชาย อาจรักษา เลขานุการฯ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

  1. กำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร และขั้นตอน กระบวนการ ในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงองค์กร
  2. พิจารณาปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์องค์กร พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงจากสถานการณ์ในปัจจุบัน
  3. ให้ข้อเสนอแนะ ติดตาม ประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ เพื่อนำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  4. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ

คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ โดยแต่งตั้งจากผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายจัดการของส่วนงานทุกฝ่ายของบริษัทฯ และมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธานกรรมการ

รายชื่อและตำแหน่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ

1) นายพิธาน องค์โฆษิต ประธานกรรมการ
2) นายเฟรดดริก การาเพท โอฮาเนี่ยน กรรมการ
3) นางธัญรัตน์ เทศน์สาลี กรรมการ
4) นายอรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต กรรมการ
5) นายวิบูรณ์ สุนทรวิวัฒน์ กรรมการ

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับจัดการ

  1. รับผิดชอบให้มีการประเมินความเสี่ยง จัดทำ และกำกับดูแลการดำเนินการตามแผนการจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร
  2. กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
  3. กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง และติดตามการนำไปปฏิบัติ สอบทานประสิทธิผลของกรอบการบริหารความเสี่ยง
  4. สอบทานการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงของบริษัทมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และกำกับดูแลให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานตามแผนการจัดการความเสี่ยง
  5. จัดให้มีการประชุมทบทวนผลการดำเนินงานตามระบบบริหารความเสี่ยง พร้อมรายงานผลต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร ทราบเป็นประจำต่อเนื่องทุกไตรมาส

สรุปการดำรงตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ

รายชื่อกรรมการ คณะกรรมการ
บริษัท
คณะกรรมการ
ตรวจสอบ
คณะกรรมการ
สรรหาและ
กำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการ
กำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการ
นโยบายการบริหาร
ความเสี่ยงองค์กร
นายบัญชา องค์โฆษิต C - - - -
พลโทนายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส M M C - -
นายไพฑูรย์ ทวีผล M C M - C
นายปัญจะ เสนาดิสัย M - M - M
แพทย์หญิงจันทิมา องค์โฆษิต M - - C -
นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต M - - M -
นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์ M - - - M
นายพิธาน องค์โฆษิต M - - - M
นายครรชิต บุนะจินดา M M - - M

หมายเหตุ :
C – Chairman ประธาน
M – Member กรรมการ

สรุปการเข้าร่วมประชุมของกรรมการ ในปี 2559




รายชื่อกรรมการ
การเข้าร่วมประชุม (ครั้ง)
คณะกรรมการ
บริษัทฯ
คณะกรรมการ
ตรวจสอบ
คณะกรรมการ
สรรหาและ
กำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการ
กำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการ
นโยบายการบริหาร
ความเสี่ยง
นายบัญชา องค์โฆษิต 12 / 12 - - - -
พลโทนายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส 11 / 12 4 / 4 2 / 2 - -
นายไพฑูรย์ ทวีผล 12 / 12 4 / 4 2 / 2 - 2 / 2
นายปัญจะ เสนาดิสัย 12 / 12 - 2 / 2 - 2 / 2
แพทย์หญิงจันทิมา องค์โฆษิต 12 / 12 - - 4 / 4 -
นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต 12 / 12 - - 4 / 4 -
นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์ 12 / 12 - - - 2 / 2
นายพิธาน องค์โฆษิต 12 / 12 - - - 2 / 2
นายครรชิต บุนะจินดา 8 / 12 3 / 4 - - 2 / 2

นายครรชิต บุนะจินดา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2559

ผู้บริหารระดับสูง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทฯ มีผู้บริหารจำนวน 9 ท่าน ดังนี้

1) นายบัญชา องค์โฆษิต ประธานกรรมการบริหาร
2) นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต รองประธานกรรมการบริหาร/ ผู้อำนวยการสำนักบริหาร
3) นายพิธาน องค์โฆษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ
4) นายเฟรดดริก การาเพท โอฮาเนี่ย ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฎิบัติการผลิต
5) นางธัญรัตน์ เทศน์สาลี ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงินและบริหาร
6) นายอรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
7) นายธีระพร ใจซื่อดี ผู้อำนวยการฝ่ายซ่อมบำรุง
8) นายไพโรจน์ ธาราวัชรศาสตร์ี ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม
9) นายสุนัน ศรีเพชร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการผลิต

ขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารบริษัทฯ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย และจะต้องบริหารบริษัทฯตามแผนงานหรืองบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอย่างเคร่งครัด ซื่อสัตย์ สุจริตและระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯและผู้ถือหุ้นอย่างดีที่สุด รวมไปถึงอำนาจหน้าที่ในเรื่องหรือกิจการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุม ดูแลการดำเนินกิจการ และ/หรือ การบริหารงานทั่วไปของบริษัท
  2. บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงาน และลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่งตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเป็นพนักงานระดับฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารก่อน
  3. มีอำนาจอนุมัติการว่าจ้างผู้บริหารระดับผู้อำนวยการอาวุโส และระดับผู้อำนวยการ ผู้จัดการ
  4. มีอำนาจในการบังคับบัญชา ติดต่อ สั่งการ ดำเนินการ ตลอดจนเข้ามาลงนามในนิติกรรมสัญญา เอกสารคำสั่ง หนังสือแจ้งหรือหนังสือใดๆ ที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบุคคลอื่น ตลอดจนให้มีอำนาจกระทำการใดๆ ที่จำเป็นและสมควร เพื่อให้การดำเนินการข้างต้นสำเร็จลุล่วงไป
  5. มีอำนาจอนุมัติ และมอบอำนาจช่วงอนุมัติเบิกจ่ายเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งทรัพย์สินและบริการ เพื่อประโยชน์ของบริษัท ซึ่งอำนาจการอนุมัติดังกล่าว จะเป็นการอนุมัติรายการปกติทั่วไปทางการค้าที่มีวงเงินไม่เกิน 800 ล้านบาท ต่อรายการ และอนุมัติค่าใช้จ่ายในการซื้อทรัพย์สินอื่นในวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาทต่อรายการ หากเกินจำนวนที่สามารถอนุมัติให้นำเสนอเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
  6. มีอำนาจอนุมัติวงเงินการปรับเงินเดือนและโบนัส หรือสูตรโบนัส หรือการปรับผลตอบแทนประจำปีของผู้บริหารและพนักงาน
  7. ดำเนินการให้มีการจัดทำและส่งมอบนโยบายทางธุรกิจ รวมถึงแผนงานและงบประมาณ ต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติ และมีหน้าที่รายงานความก้าวหน้าตามแผน และงบประมาณที่ได้รับอนุมัติดังกล่าวต่อคณะกรรมการในทุกๆ 3 เดือน
  8. ดำเนินการหรือปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและงบประมาณ ที่ได้อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ
  9. มีอำนาจในการมอบอำนาจช่วง และ/หรือ มอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนได้โดยการมอบช่วง และ/หรือ การมอบหมายดังกล่าวให้อยู่ภายใต้ขอบเขตแห่งการมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ และ/หรือ ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อกำหนด หรือคำสั่งที่คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ บริษัทกำหนดไว้
  10. อนุมัติการแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามเอกสารสั่งจ่ายเงินของบริษัทฯ รวมถึงสัญญาต่างๆ เอกสารทางบัญชีและการเงิน และเอกสารทั่วไป
  11. เป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดการในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายด้านการเงิน การตลาด การบริหารงานบุคคล และด้านการปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  12. มีอำนาจอนุมัติการแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
  13. เป็นผู้รับมอบอำนาจของบริษัทฯในการบริหารกิจการของบริษัทฯให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และ/หรือ มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการบริหารทุกประการ

เลขานุการบริษัท

เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติแต่งตั้ง นางธัญรัตน์ เทศน์สาลี เป็นเลขานุการบริษัท เพื่อช่วยดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทในการดูแลบริหารกิจการให้ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เลขานุการบริษัทรับผิดชอบดำเนินการดังต่อไปนี้ ในนามของบริษัทฯหรือคณะกรรมการ

  1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
    1.1 ทะเบียนกรรมการ
    1.2 หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานประจำปีของบริษัท
    1.3 หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
  2. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร
  3. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
  4. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น และประชุมคณะกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทฯ และข้อพึงปฏิบัติต่างๆ
  5. ร่างนโยบายด้านการบริหารต่างๆ
  6. บันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งติดตามผลให้มีการปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
  7. ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบต่อหน่วยงานที่กำกับบริษัทฯตามระเบียบ และข้อกำหนดของหน่วยงานทางราชการ
  8. ดูแลให้บริษัทฯ และคณะกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  9. ส่งเสริมให้บริษัทฯ มีมาตรฐานด้านบรรษัทภิบาลที่เหมาะสม
  10. ติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้นทั่วไปให้ได้รับสิทธิต่างๆ ของผู้ถือหุ้นและข่าวสารของบริษัทฯ
  11. ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ

ประวัติโดยสังเขปของเลขานุการบริษัท

นาง ธัญรัตน์ เทศน์สาลี้

การสรรหากรรมการและค่าตอบแทนกรรมการ

การสรรหากรรมการ

วาระการดำรงตำแหน่ง

กรรมการแต่ละท่านมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจำกัดจำนวนปีในการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้ไม่เกิน 9 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป และไม่มีผลย้อนหลังสำหรับกรรมการอิสระที่ดำรงตำแหน่งก่อนการแต่งตั้งกรรมการในปี 2556 โดยตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดและข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะออกแบ่งให้ตรงเป็น 3 ส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 โดยให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง และกรรมการที่ออกจากตำแหน่งนั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งใหม่ได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการมีนโยบายให้วาระของกรรมการตรวจสอบสอดคล้องกับวาระการเป็นกรรมการบริษัท

หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหากรรมการโดยมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้ารับการคัดเลือก และเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาคัดเลือก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ของบริษัท ในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ จะพิจารณาผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมจากช่องทางต่างๆ เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กรรมการของบริษัทฯ เสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ พิจารณาจากทำเนียบกรรมการ (Director pool) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และจากช่องทางอื่นๆ ที่คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณาเห็นสมควร

  1. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการให้ถือว่าผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
  2. ให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตนมีอยู่เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการทีละคน
  3. บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี หรือพึงจะเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมา มีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี  ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
  4. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากเหตุอื่นนอกจากการครบวาระออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลัษณะต้องห้ามตามกฎหมายเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
  5. คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้กรรมการบริษัทดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียน รวมไม่เกิน 5 บริษัท

การสรรหาผู้บริหาร

การสรรหากรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการบริหารเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้นในการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความรู้ความสามารถและประสพการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และนำเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณาอนุมัติ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติต่อไป

การสรรหาผู้บริหาร

สำหรับการสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหารของบริษัทฯ นั้น คณะกรรมการบริษัทได้ให้อำนาจประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสมกับตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยการคัดเลือกเป็นไปตามระเบียบในการสรรหาบุคคลของฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ค่าตอบแทนกรรมการ

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณาหลักเกณฑ์และรูปแบบค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมที่สะท้อนถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และความเหมาะสมที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ผลประกอบการ ปัจจัยแวดล้อมอื่น ตลอดจนพิจารณาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนของบริษัทอื่นที่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยนำผลสำรวจค่าตอบแทนกรรมการที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) มาประกอบการพิจารณาเปรียบเทียบด้วย

ในปัจจุบัน รูปแบบของค่าตอบแทนกรรมการมี 2 ประเภท คือค่าเบี้ยประชุม และค่าตอบแทนประจำปี ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนได้พิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกรรมการและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกปี ค่าตอบแทนกรรมการ ในปี 2558 และ ปี 2559 ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 32/2558 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 และ ครั้งที่ 33/2559 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 แล้ว ตามลำดับ

คณะกรรมการบริษัท

ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง ค่าตอบแทนรายปี(บาท) ค่าเบี้ยประชุม(บาท)
ปี 2559 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2558
1  นายบัญชา องค์โฆษิต  ประธานกรรมการ 1,600,000 1,600,000 420,000 420,000
2  พลโท นายแพทย์สุปรีชาโมกขะเวส  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
3  นายไพฑูรย์ ทวีผล  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
*  นางอุบล จิระมงคล  กรรมการ 0 800,000 120,000 360,000
4  นายปัญจะ เสนาดิสัย  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
5  แพทย์หญิงจันทิมา องค์โฆษิต  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
6  นางวรลักษณ์ องค์โฆษิต  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
7  นางศิริพรรณ สันธนะพันธ์  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
8  นายพิธาน องค์โฆษิต  กรรมการ 800,000 800,000 360,000 360,000
9  นายครรชิต บุนะจินดา  กรรมการ 800,000 0 240,000 0
  รวมทั้งสิ้น   8,000,000 8,000,000 3,300,000 3,300,000

* นางอุบล จิระมงคล หมดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559

คณะกรรมการตรวจสอบ

ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง ค่าตอบแทนรายปี(บาท) ค่าเบี้ยประชุม (บาท)
ปี 2559 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2558
1 นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการ 460,000 600,000 105,000 0
2 พลโท นายแพทย์สุปรีชา โมกขะเวส กรรมการ 380,000 500,000  90,000 0
* นางอุบล จิระมงคล กรรมการ 0 500,000 0 0
3 นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการ 380,000 0 90,000 0
รวมทั้งสิ้น 1,220,000 1,600,000 285,000 3,300,000

* นางอุบล จิระมงคล หมดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559

ค่าตอบแทนผู้บริหาร

คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ (CEO) เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ ซึ่งเป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด โดยค่าตอบแทนดังกล่าวในระยะยาว ได้กำหนดตามโครงสร้างค่าตอบแทนของบริษัทฯ และพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลการสำรวจการจ่ายค่าตอบแทนจากสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือ ส่วนค่าตอบแทนในระยะสั้น ในรูปแบบของเงินเดือนและโบนัสประจำปี พิจารณาอัตราเงินเฟ้อ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมทั้งพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของ CEO และภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

กรรมการผู้จัดการจะเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทน และการปรับค่าจ้างประจำปีของผู้บริหาร โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละท่าน ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ประกอบกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ (Plant KPI)

ผลตอบแทนแก่ผู้บริหาร เงินเดือน โบนัส และเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีดังนี้

ประเภทค่าตอบแทน ปี 2559 ปี 2558
จำนวนราย จำนวนเงิน (บาท) จำนวนราย จำนวนเงิน (บาท)
เงินเดือน 7 21,605,384 8 23,679,660
โบนัส/ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 7 5,451,349 8 5,097,514

ผลตอบแทนอื่นสำหรับกรรมการและผู้บริหาร

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้บริษัทออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (โครงการ ESOP-W5) จำนวน 10,000,000 หน่วย ให้แก่กรรมการผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย ใบสำคัญแสดงสิทธิโครงการ ESOP-W5 คงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 337,000 หน่วย

หลักธรรมาภิบาล

หลักบรรษัทภิบาล

การกำกับดูแลกิจการที่ดี หมายถึง การจัดโครงสร้าง และกลไกการบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

การกำกับดูแลกิจการที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้น และร่วมสร้างประโยชน์ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

เคซีอี ได้กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานทุกคน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมให้เคซีอีเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ มีการกำกับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

การจัดโครงสร้าง และกลไกการบริหารจัดการดังกล่าว สะท้อนหลักการที่สำดัญดังต่อไปนี้

  1. ซื่อสัตย์ สุจริต (Honesty)
    ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติงานโดยถือเอาประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ สุจริตต่อหน้าที่ตนเอง และต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่เอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งตระหนักว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
  2. โปร่งใส (Transparency)
    ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส พร้อมเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญของบริษัทอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และพร้อมรับการตรวจสอบได้อยู่เสมอ ตลอดจนเปิดกว้างรับความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  3. มีความเสมอภาค (Equitable Treatment)
    ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และเคารพในหลักแห่งสิทธิมนุษยชน
  4. เป็นธรรม (Fairness)
    ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ที่สมดุลร่วมกัน
  5. ยึดมั่นคำสัญญา (Accountability)
    ดำเนินธุรกิจและปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ระบบงานที่ดี และข้อตกลงสัญญาที่ได้ให้ไว้กับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ
  6. ใส่ใจดูแลสังคม (Responsibility to Society)
    ดำเนินธุรกิจโดยปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชน สังคม ตามสิทธิที่พึงได้รับ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อันเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และร่วมสร้างประโยชน์ที่สมดุลสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาว คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการโดยมีหลักการและแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้มีการสื่อสารให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทได้รับทราบและถือปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมเนื้อหา 5 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 : สิทธิของผู้ถือหุ้น

1. สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ มีนโยบายปกป้องและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์และฐานะเจ้าของบริษัท ปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายย่อย ผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือนักลงทุนสถาบันด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามแนวทางการปกป้องและรักษาสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นไว้ดังนี้

  1. สิทธิในการจดทะเบียนเป็นเจ้าของหุ้นของบริษัท
  2. สิทธิในการเปลี่ยนมือหรือการโอนสิทธิในหุ้นของตน
  3. สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีนัยสำคัญของบริษัทอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ
  4. สิทธิในการเข้าร่วมประชุม เพื่อออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท
  5. สิทธิในการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัท
  6. สิทธิในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท
  7. สิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไรของบริษัท
  8. สิทธิในการเข้าร่วมตัดสินใจ และทราบถึงผลของการตัดสินใจของบริษัท ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานของบริษัท อันได้แก่
    - การขาย หรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมด หรือบางส่วนที่สำคัญ ให้แก่บุคคลอื่น
    - การซื้อ หรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่น หรือบริษัทเอกชน มาเป็นของบริษัท
    - การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมด หรือบางส่วนที่สำคัญ การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้ามาจัดการธุรกิจของบริษัท หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน
    - การเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัท หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
    - การเพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัท
    - การควบ หรือเลิกบริษัท
    - การออกหุ้นกู้
    - รายการพิเศษอื่นๆ ที่มิใช่รายการที่เกิดขึ้นตามปกติ

2. การประชุมผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และออกเสียงลงมติในที่ประชุม โดยมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทุกราย และจะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัท หรือการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทมีการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้นดังต่อไปนี้

ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น

วันประชุมผู้ถือหุ้น

หลังการประชุมผู้ถือหุ้น

หมวดที่ 2: การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของผู้ถือหุ้นและมีการปฎิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยไม่คำนึงถึงเพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ความเชื่อ ความคิดเห็นทางการเมือง บริษัทฯ มีนโยบายการปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือรายย่อย ผู้ถือหุ้นต่างชาติ หรือนักลงทุนสถาบัน ให้ได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมในการใช้สิทธิ และได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้

1. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะในการเข้าร่วมการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้ด้วยตนเอง บริษัทฯเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้บุคคลอื่นหรือกรรมการอิสระของบริษัท เข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนได้ โดยชี้แจงรายละเอียดเงื่อนไขการมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุมไว้ในเอกสารเชิญประชุม โดยให้ข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเอกสารที่จัดส่งให้กับผู้ถือหุ้นต่างชาติจะได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ

2. การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายย่อย และผู้ถือหุ้นต่างชาติ ไม่มีการปฏิบัติใดๆที่มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นทุกคนย่อมมีสิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นตลอดระยะเวลาการประชุม ในการประชุมมีการจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอและเหมาะสมในแต่ละวาระ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการซักถามและแสดงความคิดเห็น และได้ใช้สิทธิแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล

บริษัทฯ จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้น อธิบายขั้นตอนการลงทะเบียน การเก็บบัตรลงคะแนนเสียง การส่งคำถาม และให้ความช่วยเหลือผู้ถือหุ้นในด้านอื่นๆ และจัดให้มีการเลี้ยงรับรองที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้นที่มาร่วมประชุม

3. การกำกับดูแลเพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทฯ กำหนดให้มีนโยบายในการควบคุมเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในและการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท (INSIDE TRADING) เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกราย และป้องกันมิให้กรรมการและผู้บริหารหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงก่อนเปิดเผยงบการเงินแก่สาธารณชน เป็นเวลา 1 เดือน และหลังประกาศงบการเงินเป็นเวลา 3 วัน และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่จัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯต่อห่วยงานกำกับดูแลให้รับทราบตามเกณฑ์ที่กำหนด และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการเป็นประจำ ทั้งนี้ หาก กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานรายใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามนโยบายด้านการดูแลการใช้ข้อมูลภายในที่กล่าวข้างต้นนี้ ถือเป็นความผิดทางวินัยตามระเบียบบริษัท และอาจมีโทษตามกฎหมาย

4. การกำกับดูแลด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการทำรายการระหว่างกัน

บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานบริษัท แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยห้ามไม่ให้มีการประกอบธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทและ หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง หรือบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท หรือในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการเช่นนั้น คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ดูแลให้บริษัทมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำรายการที่เกี่ยวโยง รายการนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปตามหลักการที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม เสมอเหมือนกับการทำรายการกับบุคคลภายนอกและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัท ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องผ่านการสอบทานและให้ความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น

หมวดที่ 3 : บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความเป็นธรรม และยึดถือประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ เป็นสำคัญ โดยมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม และห้ามไม่ให้กระทำการใดๆที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

3.1 การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มหลักๆของบริษัท

3.2 การปฏิบัติต่อสิทธิมนุษยชน

บริษัทยอมรับในสิทธิความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกหรือคำนึงถึงความแตกต่าง ยอมรับในการใช้สิทธิของพนักงานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายทั่วไปหรือรัฐธรรมนูญ ตลอดจนจะไม่กระทำการใดๆที่จะเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิ บริษัทมีนโยบายอย่างชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด และไม่กระทำการใดที่เป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

3.3 การปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา หรือลิขสิทธิ์

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากความรู้ ความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บริษัทต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลหรือผลงานต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในบริษัทนั้น จะต้องไม่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นโดยเด็ดขาด บริษัทไม่อนุญาตให้พนักงานใช้ซอฟท์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ ผิดกฎหมาย ในการทำงานในทุกกรณี พนักงานที่ปฏิบัติงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัท จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดจากเจ้าของลิขสิทธิและใช้เฉพาะเท่าที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทเท่านั้น

ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยมีกระบวนการจัดการกับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และโปร่งใส

หมวดที่ 4 : การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส

1. การเปิดเผยข้อมูล

2. ผู้มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล

3. ผู้สอบบัญชี และการจัดทำรายงานทางการเงิน

งบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ มีความรู้ความชำนาญ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด เพื่อให้ความมั่นใจแก่คณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นว่างบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยสะท้อนฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ตามความเป็นจริง โดยบริษัทมีนโยบายในการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีทุกรอบระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้การให้ความเห็นของผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานและหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักความระมัดระวัง ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อให้สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทตามความเป็นจริง คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการรายงานผลการดำเนินงาน และเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างโปร่งใสและเพียงพอ โดยรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งให้คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบควบคุมภายในให้เป็นไปอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่างบการเงินของบริษัทสามารถเชื่อถือได้

หมวดที่ 5: ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

1. โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท

2. คุณสมบัติของกรรมการ

3. วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการ

4. การสรรหากรรมการ

5. หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

  1. บริหารกิจการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น (Fiduciary Duty) โดยยึดถือแนวปฎิบัติสำคัญ 4 ประการ คือ
    1.1 การปฎิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง (Duty of Care)
    1.2 การปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty)
    1.3 การปฎิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (Duty of Obedience)
    1.4 การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส (Duty of Disclose)
  2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนการดำเนินงาน แผนงบประมาณ และควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและก่อประสิทธิผลเพื่อความมั่นคงและผลประโยชน์ที่สมดุลย์และยั่งยืนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. กำกับดูแลและสอบทานให้มีระบบรายงานทางการเงินที่โปร่งใส ถูกต้อง และเพียงพอ
  4. ปฏิบัติตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  5. พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
  6. กำกับดูแลกระบวนการแต่งตั้งและเลือกตั้งกรรมการบริษัทให้มีความโปร่งใสและชัดเจน
  7. กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกำกับดูแลและพัฒนาบรรษัทภิบาลของบริษัทเพื่อให้ไปสู่มาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล
  8. พิจารณาอนุมัติรายการที่สำคัญตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามที่กฎหมายและข้อบังคับของบริษัทกำหนด รวมถึงพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินมากกว่า 400 ล้านบาท
  9. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยมีการติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดย่อยอย่างสม่ำเสมอ
  10. จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายใน และระบบการควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  11. จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถประเมิน ติดตาม และบริหารความเสี่ยงที่สำคัญได้
  12. จัดให้มีเลขานุการบริษัทเพื่อช่วยดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและช่วยให้คณะกรรมการและบริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  13. จัดให้มีจรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติที่เหมาะสม และเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
  14. จัดให้มีการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสนับสนุนให้มีการสื่อสารไปสู่พนักงานทุกระดับในองค์กรให้ได้รับทราบและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  15. จัดให้มีกระบวนการที่ชัดเจนและโปร่งใสเกี่ยวกับการทำรายการระหว่างกัน
  16. จัดให้มีกระบวนการป้องกันการทุจริต คอรรัปชั่น
  17. จัดให้มีการกำหนดแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัท
  18. จัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายและแผนงานที่สำคัญต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันและเหมาะสมกับสภาพธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
  19. จัดให้มีการทบทวนและแก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการบริษัทให้สอดคล้องกับสถานการณ์
  20. ประเมินผลการฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปีโดยรวม และประเมินตนเองเป็นรายบุคคล
  21. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทและการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย โดยกรรมการที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ จะต้องแจ้งให้กรรมการบริษัทหรือเลขานุการบริษัททราบล่วงหน้าก่อนการประชุม
  22. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเกี่ยวกับกิจการของบริษัทตามที่ผู้ถือหุ้นมอบหมาย

6. การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อช่วยกำกับดูแลและกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญในด้านต่างๆ โดยกำหนดให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ คณะกรรมการชุดย่อยประกอบด้วย

  1. คณะกรรมการตรวจสอบ
    คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอจะสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่ารายการมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท โดยเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้องและครบถ้วน สอบทานให้บริษัทมีระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชีและสอบทานรายงานซึ่งผู้สอบบัญชีได้จัดทำ ดูแลติดตามให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้บริษัทมีกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
  2. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
    คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีกรรมการอิสระจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งคณะ และประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการอิสระ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีหน้าที่ ดังนี้

    หน้าที่ในการสรรหา : พิจารณาโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทให้มีความเหมาะสมกับองค์กร และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป พิจารณานโยบายการสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง สรรหา คัดเลือกและเสนอบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณสมบัติเหมาะสมที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการและ/หรือผู้บริหารแล้วแต่กรณี เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัท ดูแลให้มีแผนสืบทอดตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

    หน้าที่ในการกำหนดค่าตอบแทน : พิจารณารูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่กรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการให้มีความชัดเจน เป็นธรรม เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดค่าตอบแทนแก่กรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งพิจารณากำหนดเป้าหมายและประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณา ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
  3. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
    คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท โดยประกอบด้วยกรรมการที่เป็นตัวแทนจากฝ่ายบริหาร โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรมีหน้าที่พิจารณานโยบาย กลยุทธ์ โครงสร้าง และกรอบการจัดวางระบบการบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กร สนับสนุนการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงโดยกำหนดโครงสร้างของการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร พิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติ สอบทานความเสี่ยง ติดตาม และประเมินความเพียงพอ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยงในภาพรวมระดับกลยุทธ์ ประเมินความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กร เพื่อจัดให้มีการดำเนินการที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ตลอดจน ให้ข้อเสนอแนะและให้ความเห็นชอบในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
  4. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
    คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง มีกรรมการอิสระเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่กำหนดและทบทวนนโยบาย ข้อกำหนด และวีธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดนโยบายและวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม ประชุมติดตามความคืบหน้าของแผนงานบรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัทภิบาล เพื่อกำหนดประเด็นที่ควรปรับปรุง เป็นตัวแทนบริษัทในการสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมด้านบรรษัทภิบาลทั้งกับผู้บริหาร พนักงานและหน่วยงานภายนอก
  5. กรรมการผู้จัดการ
    กรรมการผู้จัดการเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารและจัดการบริษัทให้มีการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติคณะกรรมการและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการอาจจะไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นได้ แต่ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้จัดการของบริษัท และกิจการนั้นต้องไม่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัท โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทก่อนไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น

7. การประชุมคณะกรรมการ

8. เลขานุการบริษัท

เพื่อสนับสนุนและดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กำหนดให้เลขานุการบริษัทมีหน้าที่ ดังนี้

9. การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการได้จัดให้มีการประเมินตนเองในผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ เพื่อให้การประเมินผลสามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของคณะกรรมการโดยสม่ำเสมอ และทำการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี โดยมีประธานกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเปรียบเทียบกับบรรทัดฐาน ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีการนำผลการประเมินมาร่วมกันพิจารณาและกำหนดแนวทางปรับปรุงการทำงานต่อไป

10. การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ

คณะกรรมการกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่กรรมการที่ชัดเจน และนำเสนอขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น โดยมีคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองจำนวนเงินค่าตอบแทนแต่ละปีอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้องและประโยชน์ที่ได้รับจากกรรมการแต่ละคน โดยให้อยู่ในระดับที่เทียบเคียงได้กับที่ปฏิบัติในอุตสาหกรรมเดียวกัน

11. การอบรมและพัฒนาความรู้กรรมการ

กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะได้รับทราบข้อมูลบริษัท กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และข้อมูลธุรกิจที่สำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบย้อนหลัง มีการแนะนำให้รู้จักคณะกรรมการและผู้บริหาร นอกจากนี้ มีการส่งเสริมให้กรรมการได้รับการอบรมและเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ

12. แผนการสืบทอดงาน

คณะกรรมการกำหนดให้มีแผนการสืบทอดตำแหน่งของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เพื่อรักษาความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน องค์กร ตลอดจนพนักงาน เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีการทบทวนแผนการสืบทอดตำแหน่งเป็นประจำทุกปี

13. การต่อต้านการทุจริต

บริษัทมี “นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น” เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน โดยห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทดำเนินการหรือยอมรับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย

การดูแลให้มีการปฏิบัติตาม

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอย่างเคร่งครัดด้วยความเข้าใจ ยึดมั่น และยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการปฏิบัติงาน ดูแลและระมัดระวังมิให้ตนเองและผู้ร่วมงานมีการประพฤติที่ขัดต่อจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยกระบวนการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมีดังนี้

กรรมการและผู้บริหาร

  1. ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
  2. สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้เป็นไปตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
  3. รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพนักงาน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ของบริษัทให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  4. ดูแลให้มีการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

  1. สื่อสารและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานอย่างครบถ้วน ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ
  2. ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัทภิบาล เพื่อกำหนดประเด็นที่ควรปรับปรุง
  3. ตรวจประเมินความพอเพียงและความเหมาะสมของจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับภาวการณ์และสภาพธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

  1. ชี้แจงและให้คำแนะนำแก่พนักงานให้ทราบถึงหน้าที่ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
  2. จัดให้พนักงานใหม่ได้รับจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
  3. ติดตามและจัดเก็บแบบรับทราบและถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่พนักงานลงนามรับทราบแล้ว

ส่วนงานตรวจสอบภายใน

  1. สอบทานข้อมูลเบื้องต้นในกรณีที่มีหรือเชื่อได้ว่าอาจจะมีการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ
  2. ติดตามและประสานงานให้มีการแก้ไขการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการโดยเร็ว และรายงานความคืบหน้าให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ

วินัย

จรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทถือเป็นส่วนหนึ่งของวินัยที่บุคลากรทุกระดับของบริษัทต้องยึดถือและปฏิบัติตาม โดยมีสาระสำคัญที่ควรทราบดังนี้

  1. ศึกษา ทำความเข้าใจ และทบทวนจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอย่างละเอียดถี่ถ้วนและสม่ำเสมอ
  2. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  3. ส่งเสริม สนับสนุน และดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
  4. หากมีการฝ่าฝืนหรือละเว้นการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ย่อมถูกสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัท
  5. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการที่ฝ่าฝืนหรือละเว้นการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
  6. กรณีไม่แน่ใจว่าการดำเนินการหรือพฤติการณ์ใดที่ตนเองกำลังมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องจะขัดต่อจรรยาบรรณและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทหรือไม่ ให้ตั้งคำถามนั้นกับตนเองดังนี้
    • การกระทำนั้นขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีหรือไม่
    • การกระทำนั้นขัดต่อนโยบาย ค่านิยม หลักบรรษัทภิบาลและภาพลักษณ์ของบริษัทหรือไม่
    • การกระทำนั้นส่งผลเสียต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทหรือไม่
    • การกระทำนั้นจะก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ไม่ดีในอนาคตหรือไม่

    “หากการกระทำนั้นขัดต่อสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นให้ยุติการกระทำ”

นิยาม

การบริหารจัดการความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ ดำเนินการบริหารความเสี่ยงโดยถือว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุกกระบวนการในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่มีความเชื่อมโยงกันในทุกระดับ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเข้าทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงในภาพรวม โดยกำหนดนโยบายและขอบเขตการบริหารจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภาระกิจของบริษัทฯ รวมถึงพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและโอกาสการเจริญเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในการประเมินความเสี่ยงบริษัทฯ จำแนกปัจจัยความเสี่ยงหลักๆ ได้ดังนี้

ความเสี่ยงในด้านการดำเนินการผลิต

ความเสี่ยงในกระบวนการผลิต

การผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนและเทคนิคในการผลิตที่ซับซ้อน ประกอบกับเทคโนโลยีด้านการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของบริษัทฯที่ต้องเรียนรู้และปรับกระบวนการผลิตให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และทันต่อความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีคณะวิศวกรรมที่ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกันฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของลูกค้าอย่างใกล้ชิด จึงเกิดการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ และการพัฒนาในเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการพิจารณานำเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่เครื่องจักรเก่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วย

ความเสี่ยงในการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ

บริษัทฯ มีความเสี่ยงในด้านการจัดหาบุคลากรสำหรับสายการผลิตที่มีทักษะเฉพาะด้านที่จำเป็น เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญงานจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการผลิตและคุณภาพสินค้าได้ดังนั้นบริษัทฯ จึงส่งเสริมการฝึกอบรมทางเทคนิคและจัดให้มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้เฉพาะด้านและความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่บุคลากร รวมถึงการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมเพื่อจูงใจบุคลากรคุณภาพให้อยู่กับบริษัทฯ ในระยะยาว

ความเสี่ยงในการขาดวัตถุดิบ

การจัดหาวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพสินค้า ต้นทุนขาย ผลกำไร และความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ โดยที่การขาดแคลนวัตถุดิบอาจนำไปสู่การหยุดผลิต การปรับขึ้นของราคาวัตถุดิบอาจทำให้ต้นทุนขายสูงขึ้นและผลกำไรลดลง ขณะที่การใช้วัตถุดิบด้อยคุณภาพในการผลิตอาจนำไปสู่การสูญเสียความน่าเชื่อถือของบริษัทฯได้ บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว จึงลงทุนสร้างโรงงานผลิตวัตถุดิบหลักที่จำเป็นในการผลิต PCB ได้แก่ แผ่นลามิเนตและพรีเพกสำหรับใช้เองภายในกลุ่มบริษัทฯ จัดตั้งในนามของบริษัทไทยลามิเนต แมนูแฟคเจอเรอร์ (TLM) เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพและคุณสมบัติครบถ้วนเพียงพอตามแผนการผลิต

นอกจากนี้ ในปี 2555 บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนใน บริษัท เคมโทรนิคส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (“เคมโทรนิคส์”) ซึ่งเป็นผู้ผลิตหมึกพิมพ์ลายแผงวงจรไฟฟ้าและน้ำยาเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ไม่เพียงแต่ทำให้บริษัทฯ มีแหล่งผลิตน้ำยาเคมีที่สำคัญไว้ใช้เอง ยังช่วยให้บริษัทฯ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียจากโรงงานและสามารถ Recycleน้ำยาเคมีที่ใช้แล้วกลับมาใช้ได้อีก และในปีเดียวกันนั้นเอง บริษัทฯ ได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท เคซีอี ไต้หวัน จำกัด เพื่อให้เป็นตัวแทนในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ รวมถึงการหาซื้อเครื่องจักรในต่างประเทศให้กับกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีวัตถุดิบในการผลิตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับประโยชน์จากอำนาจต่อรองที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับวัตถุดิบ

ความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาวัตถุดิบ

สำหรับวัตถุดิบที่มีทองแดงหรือทองเป็นส่วนประกอบหลัก จะมีราคาผันผวนตามสถานการณ์ในตลาดโลก เช่น แผ่นลามิเนต(Laminate) แผ่นทองแดง (Copper Foil) ก้อนทองแดง (Copper anode) และ เกลือทอง(Gold Salt) เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว มีความผันผวนตามสถานการณ์ตลาดโลก บริษัทฯ จึงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาตลาดโลกอย่างใกล้ชิด และมีนโยบายใช้เครื่องมือทางการเงินในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงราคาทองแดงและราคาทองไว้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามสถานการณ์ที่จำเป็น ประกอบกับบริษัทฯ มีการสำรองวัตถุดิบหลักไว้ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับแผนการผลิตในแต่ละช่วงเวลาด้วย

สำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นในการผลิตรายการอื่นๆ บริษัทฯ มีการคัดเลือกผู้ผลิตหรือผู้ขายวัตถุดิบแต่ละรายการไว้อย่างน้อย 3 บริษัท และจัดให้มีการเสนอราคาใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการแข่งขันด้านราคา นอกจากนี้บริษัทฯ มีการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตหรือผู้ขายอย่างต่อเนื่อง

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

PCB เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือสินค้าชนิดใดมาแทนที่การใช้ PCB ได้ อย่างไรก็ดีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตจะมีขนาดเล็กลงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น และมีความละเอียดซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้น INTERGRATED DESIGN ทำให้เกิดความต้องการ PCB ที่มีขนาดที่เล็กลง มีลายวงจรที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น และมีจำนวนชั้น (Layer) ของแผ่นวงจรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคการผลิตที่ต้องการทักษะในการผลิตสูง เพื่อให้ได้ PCB ที่มีคุณสมบัติพิเศษมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพตามต้องการ นอกจากนั้นยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่นการใช้ Laminate ที่เป็น Halogen-Free หรือ ใช้ Lead-Free ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุดิบที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมของการใช้งานที่มีการแปรเปลี่ยนอุณหภูมิที่สูงและอย่างรวดเร็ว (HIGH PERFORMANCE MATERIAL) โดยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เป็นความเสี่ยงของอุตสาหกรรม PCB ในระยะสั้น จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต หรือ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติหรือประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต PCB ซึ่งอาจทำให้บริษัทฯต้องลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการผลิต รายได้ และผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่บ้าง แต่บริษัทฯ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ผ่านการลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามาโดยตลอด ขณะที่บริษัทฯ มุ่งเน้นที่การผลิตสินค้าคุณภาพระดับคุณภาพปานกลางถึงคุณภาพสูงที่เทคโนโลยีการผลิตไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากนัก และการให้ความสำคัญต่อกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าในการผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีกับลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้บริษัทฯ สามารถรักษาฐานลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ได้ และมีการปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ

ความเสี่ยงในด้านการประกอบธุรกิจ

ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจโลก

การเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจโลกและสภาวะของอุตสาหกรรมอื่นที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่นอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรของอุตสาหกรรมอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านอื่นๆ และอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อยอดขายหรือราคาสินค้าของของกลุ่มบริษัทฯได้

กลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายมุ่งเน้นการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอและผู้ซื้อมักจะให้ความสำคัญด้านคุณภาพของสินค้าเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม เพื่อการกระจายความเสี่ยงบริษัทฯ ได้เริ่มกระจายการผลิตไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นด้วย เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม กลุ่มอุปกรณ์โทรคมนาคม กลุ่มชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสินค้าอุปโภค เป็นต้น

ความเสี่ยงทางด้านการตลาด และการแข่งขันทางธุรกิจ

ความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดอาจเกิดได้จากปัจจัยภายในประเทศของตลาดผู้ซื้อเอง เช่น จากภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ทางการเมือง นโยบายการค้าระหว่างประเทศ สงคราม การก่อการร้าย เป็นต้น และรวมถึงปัจจัยในระดับองค์กรของลูกค้า เช่น มีการควบรวมกิจการ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดซื้อ เป็นต้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายกระจายสัดส่วนการตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมหลายประเภท แม้ว่าจะคงสัดส่วนการ ตลาดส่วนใหญ่ไว้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังได้กระจายการขายสินค้าไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก เช่น ในยุโรป อเมริกา และเอเซีย

ส่วนความเสี่ยงทางด้านการแข่งขันทางธุรกิจนั้น ในด้านหนึ่งจะเป็นการแข่งขันด้านราคา ซึ่งคู่แข่งของบริษัทฯ จะเป็นผู้ผลิตในประเทศจีนและไต้หวัน ซึ่งเป็นปัญหาของผู้ผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก รวมถึงบริษัทด้วย แม้ว่าบริษัทฯจะไม่ได้เป็นคู่แข่งโดยตรงกับผู้ผลิตในประเทศจีนเพราะมีตลาดเป้าหมายคนละกลุ่ม ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นการแข่งขันกับผู้ผลิตPCB ในยุโรปที่ถูกมองว่ามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าและมีคุณภาพสูงกว่า PCB ที่ผลิตในประเทศไทย อีกทั้งยังมีแหล่งผลิตในยุโรปเองซึ่งการขนส่งทำได้สะดวกกว่า อย่างไรก็ดี จากการที่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถูกกดดันเรื่องต้นทุนทำให้ต้องหันมาหาซื้อของถูกที่มีคุณภาพในตลาดเอเซียมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิต PCB จากยุโรปและอเมริกามาทางเอเซียอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งของบริษัทฯ ในยุโรปค่อยๆลดขนาดของธุรกิจลง และจนถึงปัจจุบันก็มีการปิดกิจการไปแล้วหลายแห่ง

ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงกลุ่มสินค้าหรือกลุ่มลูกค้า

บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ PCB สำหรับส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ในสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 70 โดยส่งไปขายในตลาดยุโรป ประมาณร้อยละ 55 จากการพึ่งพิงรายได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดยุโรป อาจเป็นผลให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงลดลงของความต้องการในสินค้าจากกลุ่มสินค้าหรือตลาดดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ปกติอุตสาหกรรมยานยนต์จัดว่าเป็นตลาดที่มีความผันผวนน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าอุปโภค หรือตลาดอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคมซึ่งบริษัทไม่ได้มีนโยบายในการผลิตสินค้าประเภทดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายขยายตลาดเข้าสู่ภูมิภาคเอเซียมากขึ้น และเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าอุปโภคระดับคุณภาพสูง และกลุ่มสินค้าที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพิงรายได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดยุโรปลงได้บ้าง

ความเสี่ยงจากอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ

อัคคีภัยและภัยธรรมชาติอาจส่งผลเสียหายต่อการดำเนินงานของบริษัทฯได้เป็นอย่างมาก และอาจทำให้บริษัทฯ ต้องเสียลูกค้าไปให้คู่แข่ง ในบางกรณี บริษัทฯ อาจต้องหยุดการผลิตซึ่งจะทำให้สูญเสียรายได้ อีกทั้งต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเพื่อให้กลับมาดำเนินการผลิตอีกได้ ดังนั้นบริษัทฯ และบริษัทย่อยทุกแห่ง จึงทำประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดและประกันธุรกิจหยุกชะงักไว้กับบริษัทประกันภัยที่มีฐานะทางการเงินแข็งแรง และมีการทบทวนกรมธรรม์ประกันภัยทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่ามีทุนประกันที่เหมาะสมและสามารถคุ้มครองความเสียหายได้อย่างเพียงพอในทุกกรณี

หลังจากที่เกิดมหาอุทกภัยในปี 2554 นิคมอุตสาหกรรมไฮ-เทค ได้สร้างเขื่อนถาวรเพื่อป้องกันน้ำท่วมรอบนิคมฯปัจจุบันสร้างเสร็จเรียบร้อยโดยคาดว่าเขื่อนจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในระดับที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับโรงงานใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ได้มีการออกแบบอาคารโดยคำนึงถึงสถานการณ์น้ำท่วมไว้ด้วย เช่นการยกพื้นอาคารให้สูงเกินระดับน้ำที่อาจท่วมถึง เป็นต้น

ความเสี่ยงทางด้านการเงิน

ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย

บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอันเกี่ยวกับเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และเงินกู้ยืมจากธนาคาร โดยความเสี่ยงด้านเงินฝากอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินกู้ยืมอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และ สกุลเงินยูโร ที่กู้ยืมมาเพื่อใช้ลงทุนในแหล่งใช้ไประยะสั้นและยาว ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทฯเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับอัตราที่ต่ำ โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินยูโรที่มีแนวโน้มคงที่ในอัตราต่ำไปอีกระยะเวลาหนึ่ง ส่วนอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และสกุลเงินบาทมีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาวนับจากปลายปี 2558 กลุ่มบริษัทจึงมีความเสี่ยงจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทฯมีการติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มของตลาดเงินอย่างใกล้ชิด และ มีนโยบายกู้ยืมเงินในสกุลเงินที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มคงที่ในระดับต่ำ รวมถึงใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน เช่น Interest Rate Swap (“IRS”) หรือ Cross Currency Swap (“CCS”) เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินระยะยาว โดยพิจารณาต้นทุนและยอดดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้า (Negative Carry) ที่เหมาะสมและอยู่ในสัดส่วนที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอในการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจาก รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ตลอดจน ต้นทุน ค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายการลงทุนในเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงหนี้สินบางส่วนเป็นเงินสกุลต่างประเทศ โดยประมาณร้อยละ 75 ของรายได้ และประมาณร้อยละ 50 ของต้นทุน ค่าวัตถุดิบ และค่าใช้จ่าย อยู่ในรูปของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำไรขาดทุนของบริษัทฯ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทฯจึงได้ 1) มีการพัฒนาโปรแกรมทางการเงินให้สามารถแสดงสถานะความเสี่ยงเป็นรายสกุลเงินในแต่ละช่วงเวลา และให้มีการติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างใกล้ชิด 2) ใช้หลัก Natural Hedge ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งได้แก่การนำเงินได้จากการขายสินค้าไปชำระค่าใช้จ่าย ค่าต้นทุนวัตถุดิบ เงินลงทุน และ หนี้เงินกู้ยืมอยู่ในรูปสกุลเงินเดียวกัน ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) วางแผนทางการเงินเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงินต่างๆ เช่น การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) การเข้าทำ SWAP และ Option เป็นต้น

ทั้งนี้ในการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯใช้หลักความระมัดระวังเพื่อการป้องกันความเสี่ยงเป็นหลัก และไม่ทำการในลักษณะเพื่อการเก็งกำไร

ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้าจากตัวแทนจำหน่าย

บริษัทฯ ขายสินค้าผ่านตัวแทนขายของบริษัทฯ ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของรายได้จากการขายทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นการขายไปยังลูกค้าโดยตรง โดยให้บริษัทตัวแทนเป็นผู้ติดตามการชำระเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วนำส่งให้แก่บริษัทตามตารางเวลาที่ได้ตกลงกัน ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงิน หรือ ได้รับชำระเงินล่าช้าทั้งจากตัวแทนและจากลูกค้า ซึ่งจะกระทบกับสภาพคล่องและการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในการไม่ได้รับชำระหนี้นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากบริษัทตัวแทนหลายแห่งเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของกลุ่มบริษัท ส่วนบริษัทตัวแทนรายอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทนั้น ก็มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีมาเป็นระยะเวลานานกว่า 25 ปี นอกจากนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทเป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงน้อยที่จะไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทตัวแทนขาย สำหรับความเสี่ยงจากการชำระหนี้ล่าช้านั้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีพนักงานรับผิดชอบติดตามบริหารยอดหนี้ค้างชำระกับตัวแทนอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง

กฎบัตร
จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ

เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิการที่ดีของเคซีอี จึงกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม โดยให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ยึดถือปฏิบัติเป็นค่านิยมขององค์กร เพื่อให้การบริหารและการปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ชัดเจน เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่ม ซึ่งจะเป็นรากฐานสู่การพัฒนาและความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

“จรรยาบรรณ” เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ และเป็นมาตรฐานความประพฤติที่บุคลากรทุกคนของเคซีอีพึงกระทำ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในทุกภาคส่วนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ภายใต้กรอบคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความเสมอภาค และเท่าเทียม ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดจรรยาบรรณเป็นแนวทางไว้ดังนี้

จรรยาบรรณของกรรมการและผู้บริหาร

เพื่อเป็นแบบอย่างแก่พนักงานในการประพฤติและปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค กรรมการ ผู้บริหาร ต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดในจรรยาบรรณหลัก ดังนี้

จรรยาบรรณของพนักงาน

จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย

เพื่อส่งเสริมให้บริษัทเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ของบริษัทโดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

นโยบายและแนวปฏิบัติ

นโยบายเรื่องการปฏิบัติต่อบริษัท

1. นโยบายการเคารพกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน

2. นโยบายการเก็บรักษาและการใช้ข้อมูลภายใน

3. นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัท

4. นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา

5. นโยบายด้านความปลอดภัยสารสนเทศ

นโยบายเรื่องการขัดแย้งทางผลประโยชน์

6. นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

7. นโยบายการต่อต้านการทุจริต

นโยบายเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม

8. นโยบายด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

9. นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงาน

10. นโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

นโยบายเรื่องอื่นๆ

11. นโยบายด้านการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

12. นโยบายการมีส่วนร่วมทางการเมือง

13. นโยบายด้านการฝึกอบรมและพัฒนา

การแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน

1. การแจ้งเบาะแส และการร้องเรียน

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการกำกับดูแลกิจการ ดังนั้น ในกรณีที่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน พร้อมส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ถึงบริษัท หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่องทางการติดต่อ ดังนี้

ติดต่อ: คณะกรรมการตรวจสอบ

อีเมลล์ : information@kce.co.th
คณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)
ไปรษณีย์ : 72 - 72/1-3 นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ซอยฉลองกรุง 31 แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง
กรุงเทพฯ 10520

2. เงื่อนไขและการพิจารณาเบาะแสและข้อร้องเรียน

  1. รายละเอียดของเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ต้องเป็นความจริง มีความชัดเจน หรือพอที่จะนำสืบหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการต่อไปได้
  2. ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือเกิดความเสียหายใดๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเอง จะทำให้สามารถรายงานความคืบหน้า สอบถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  3. ข้อมูลที่ได้รับจะถือเป็นความลับ และไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียนต่อสาธารณชนหากไม่ได้รับความยินยอม
  4. ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท หรือบุคคลภายนอก
  5. ระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องร้องเรียนขึ้นกับความสลับซับซ้อนของเรื่อง ความเพียงพอของเอกสารหลักฐานที่ได้รับจากผู้ร้องเรียน รวมถึงเอกสารหลักฐานและคำชี้แจงของผู้ถูกร้องเรียน
  6. ผู้รับข้อร้องเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ จะเปิดเผยเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  7. กรณีที่ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหาย หรือความไม่ปลอดภัย
  8. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสม และเป็นธรรม

3. การคุ้มครองสิทธิพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่รับจ้างทำงานให้แก่บริษัท

บริษัทจะไม่กระทำการใดอันไม่เป็นธรรมต่อพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นใดที่รับจ้างทำงานให้แก่บริษัท ไม่ว่าจะโดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือสถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุที่บุคคลนั้น

  1. ให้ข้อมูล ให้ความร่วมมือ หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใดๆ แก่กรรมการ ผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแล ในกรณีที่บุคคลเหล่านั้นมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ
  2. ให้ถ้อยคำ ยื่นเอกสารหลักฐาน หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใดๆ แก่กรรมการ ผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหรือตรวจสอบกรณีมีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ
ผลการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักเกณฑ์การประเมินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในระดับ “ดีเลิศ” Excellent CG Scoring ในปี 2558 และ ปี 2559 โดยมีสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association; IOD) เป็นผู้ประเมิน ซึ่งจากผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัททุกปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกคนที่ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

 

ติดต่อเลขานุการบริษัท

เลขานุการบริษัท

คุณธัญรัตน์ เทศน์สาลี
ที่อยู่ : เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 72 - 72/1-3 นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ถนนฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง
กรุงเทพฯ 10520 ประเทศไทย
โทรศัพท์: +66 (0) 2326-0196-9 ต่อ 1201
โทรสาร: +66 (0) 2326-0300
อีเมลล์: tanyarat@kce.co.th
คำประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริต
ดาว์น
โหลด
นโยบายและแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณ
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
และจรรยาบรรณ
ขนาดไฟล์ : 1.80 MB.

Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.